Guest Blog Post :: ดร.แนน ณติกา ไชยานุพงศ์ :: ประสบการณ์ในการสอบป้องกันดุษฎีนิพนธ์

defense1.jpg

สวัสดีค่ะเพื่อนๆ ชาว “ก็แค่ปริญญาเอก” ขอแนะนำตัวสักนิดนะค่ะ ชื่อ ณติกา ไชยานุพงศ์คะ เรียกสั้นๆ ว่า แนน ค่ะ แนนเพิ่งผ่านการ defense มาหมาดๆ เมื่อวันที่ 29 มีนาคมที่ผ่านมา จะมาขอเล่าประสบการณ์ครั้งหนึ่งในการ defense เพราะเชื่อว่าเราคงไม่ได้ defense กันทุกวัน

เริ่มแรกหนึ่งวันก่อนวัน defense แนนใช้เวลาครึ่งวันเพื่อผ่อนคลาย โดยที่ไม่แตะต้องหรือย้อนกลับไปดูเกี่ยวกับเรื่องที่จะ defense อีกเลย เพราะแนนเชื่อว่า ตัวเองเตรียมตัวมามากพอสมควรแล้ว

ในวัน defense แนนเลือกจะไปถึงห้อง defense ก่อนล่วงหน้าประมาณ 2 ชั่วโมง เพื่อเตรียมความพร้อม ซ้อมเล็กน้อย และนั่งสงบสติอารมณ์ เมื่อถึงเวลา committees พร้อมหน้า ก็เริ่มเลยค่ะ แต่ defense ครั้งนี้ไม่ได้ผ่านไปง่ายๆเลย เพราะโดนเบรก และต้องตอบคำถาม committees ตลอดเวลา

ใจตอนนั้นก็ยังคิดว่าเรารู้เรื่องนี้ดีที่สุด ถามอะไรมาเราก็ต้องตอบได้พยายามดึงสติกลับมาทุกครั้งที่โดนเบรก แนนคิดว่านี่เป็นการนำเสนองานที่นานมาก มากจริงๆ ระยะเวลารวมประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่ง ความรู้สึก ณ ตรงนั้นคือ กดดัน กลัว กังวล สารพัด แต่หลังจาก นำเสนอเสร็จสิ่งที่ทำได้คือ คิดว่าเราทำดีที่สุดแล้ว อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด

ระหว่างรอ committees ประชุมอยู่ที่หน้าห้อง สิ่งที่ทำได้คือ ทำใจ และพยายามปลอบใจตัวเอง

defense5.jpg

และแล้วเมื่อถึงเวลาที่รอคอย ขอบอกเลยค่ะว่า เหมือนยกภูเขาหลายๆ ลูกออกจากอก เอว สะโพก มันโล่งอย่างบอกไม่ถูก ตอนที่ chairperson จับมือ และเรียกแนนว่า Dr. Chaiyanupong ในที่สุด 5 ปีที่รอคอยก็สำเร็จ

ท้ายที่สุดนี้ แนนขอฝาก tips เล็กๆให้กับเพื่อนที่ใกล้จะ defense ในเร็ววันนะคะ

defense3.jpg

9 Tips สำหรับการ defense

  1. พักผ่อนให้เพียงพอ และทำสมาธิสะกดความตื่นเต้น ใครที่คิดว่าต้องเตรียมตัวจนดึกดื่นก่อนวัน defense นั่นคิดผิดมาก เพราะร่างกายคุณจะไม่ตื่นตัว สมองตื้อ อย่างน้อยครึ่งวันก่อนพรีเซนต์จะrelax ออกกำลังกาย หรือทำอะไรก็ได้ที่ทำให้ผ่อนคลาย
  2. มั่นใจ มั่นใจ มั่นใจ คุณต้องมั่นใจว่าคุณรู้จักหัวข้อที่คุณทำดีที่สุด เนื่องจากคุณใช้ชีวิตอยู่กับหัวข้อนี้เป็นปีๆ ไม่มีใครรู้ดีไปกว่าคุณ แม้แต่ committees
  3. อย่าคาดหวังว่าจะได้นำเสนอที่เตรียมมา เพราะในการdefense เปรียบเสมือนการโต้ตอบ พูดคุย ชี้แจงidea ถกเถียงกับบรรดา committees
  4. เตรียมตัวตอบคำถามตลอดการนำเสนอ เพราะ committees จะหยุดการนำเสนอและพูดคุยกับคุณตลอดเวลา เพราะฉะนั้น เตรียมตัว อ่าน manuscript ให้แม่น เพื่อตอบคำถาม
  5. Defense ไม่ใช่คำตอบสุดท้าย เพราะหลังจากที่คุณ defense คุณยังต้องกลับมาแก้รูปเล่ม เขียนเพิ่มเติม ตามที่ committees ของคุณเสนอแนะ จะมากหรือน้อยก็แล้วแต่กรณี
  6. Defense คือการนำเสนอสิ่งที่เกิดหลังจากproposal หลายๆ คนอาจจะเข้าใจว่า คุณจะต้องนำเสนอ ทุกอย่างตั้งแต่ต้นจนจบ ผิดค่ะ! อย่าลืมว่า คุณเคยนำเสนอไปแล้วตอน propose ให้ผู้ฟังกลุ่มเดิมฟัง เพราะฉะนั้น การนำเสนอข้อมูลซ้ำๆ นอกจากจะเสียเวลาแล้ว คุณจะเหลือเวลานำเสนอในส่วนของ result, implication, and discussion น้อยมาก ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดที่ควรนำเสนอ
  7. ยกเลิกนัดฉลองในวันนั้นไปได้เลย เพราะการ defense อาจยืดเยื้อ อย่าคาดหวังว่า การ defense จะจบภายใน 1 ชั่วโมง เพราะในบางครั้ง อาจจะยืดเยื้อไปถึง 3 ชั่วโมงก็ได้ คุณคงไม่อยากปล่อยให้เพื่อนๆ รอเก้อนะคะ
  8. 20-25 นาที กำลังดี ระยะเวลาในการ defense และนำเสนองานวิจัยของคุณไม่ควรนานเกิน 30 นาที เพราะฉะนั้นการฝึกซ้อมการนำเสนอจึงสำคัญ เพื่อจะได้ปรับการนำเสนอให้อยู่ในระยะเวลาที่เหมาะสม
  9. ทำอย่างเต็มที่ แล้วจะไม่เสียดายทีหลัง

หลังจากที่คุณนำเสนอผลที่ได้เสร็จ ระหว่างรอ committees ตัดสินว่า จะให้คุณผ่านหรือไม่นั้น สิ่งเดียวที่คุณทำได้คือ คิดว่าคุณทำดีที่สุดแล้ว จะผ่านหรือไม่ผ่านขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของ committees ของคุณเท่านั้น มันคงไม่มีประโยชน์ถ้าคุณมัวแต่คิดถึงสิ่งที่ผ่านไปแล้ว

ทั้งนี้ ทั้งนั้น กฏและกติกาในการ defense ของแต่ละมหาวิทยาลัยนั้นต่างกัน หวังว่า tips นี้จะเป็นประโยชน์สำหรับว่าที่ Dr. คนต่อไปไม่มากก็น้อย

………………………………..

เขียนโดย ณติกา ไชยานุพงศ์, PhD in Organizational Psychology

California School of Professional Psychology, San Francisco, USA

defense4.jpg

เพจก็แค่ปริญญาเอก ขอแสดงความยินดีกับความสำเร็จของ ดร.แนน และขอขอบคุณสำหรับการแบ่งปันบทความดีๆ คำแนะนำที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับชาว #JustaPhD ค่ะ

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s