GUEST BLOG POST ::: #1 การสมัครเรียนปริญญาเอก มันคนละเรื่องกับปริญญาตรีและปริญญาโท

ผมได้มีโอกาสช่วยเพื่อนที่กำลังสมัครเรียนต่อเขียน Statement of Purpose (SOP) มาหลายครั้งจนตั้งข้อสังเกตว่า การสมัครปริญญาเอกนั้น มีความแตกต่างจากการสมัครปริญญาตรีและโทอย่างสิ้นเชิง แท้ที่จริงแล้วเราไม่สามารถเอาประสบการณ์ จาก การเขียน SOP ของการสมัคร ปริญญาตรี และ ปริญญาโท เข้ามาใช้ในการเขียน SOP สำหรับการสมัครปริญญาเอก ยิ่งไปกว่านั้น ประสบการณ์ ในการเขียน SOP ในอดีตอาจเป็นผลเสียด้วยซ้ำ

การที่ผมกล่าวว่าการสมัครปริญญาเอกแตกต่างจากปริญญาตรีและโทนั้นเป็นเพราะ Admission Committee หรือกลุ่มที่จะพิจารณา Statement of Purpose นั้น ใช้เกณฑ์ในการคัดเลือกที่ไม่เหมือนการรับนักศึกษาเข้าปริญญาตรีและปริญญาโท

แล้วมันต่างกันอย่างไรล่ะ บางท่านอาจสงสัย?

ท่านอาจจะจำประสบการณ์ตอนเขียน Statement of Purpose ในการสมัครปริญญาตรีได้ ตอนนั้นแต่ละคนก็เพิ่งจบ มัธยมปลาย ทาง Admission Committee ต้องการให้เราเขียนถึง เรื่องราวของเรา อันรวมไปถึงความสนใจส่วนตัว หรือกิจกรรม วิชาที่เราสนใจเป็นพิเศษ และความเป็นอัตลักษณ์ของตัวเรา ความท้าทายอยู่ที่ว่าใครจะสามารถ เอาเรื่องราวของตัวเองมาเรียบเรียงให้น่าสนใจและให้น่าประทับใจโดดเด่นได้มากที่สุด

แน่นอนทาง Admission Committee ก็จะสนใจ คะแนนสอบ (Standardized Tests) และ ผลการศึกษา (GPA) แต่ Statement of Purpose เป็นโอกาสที่ทาง Admission Committee จะได้รู้จักตัวตนของเราในเชิงลึก นอกเหนือจาก ตัวเลข และใบสมัคร

ผู้อ่านบางท่านที่ศึกษาต่อถึงระดับปริญญาโท อาจสังเกตว่า Statement of Purpose ของปริญญาโท จะเน้นที่ศักยภาพและประสบการณ์ ทำงานที่ผ่านมา ของเรารวมไปถึงการนำเอาความรู้ที่คาดว่าจะได้จากการเรียนปริญญาโทไปประยุกต์ ใช้ในชีวิตการทำงาน และ สายงานอาชีพนั้นๆ ทาง Admission Committee จึงอยากให้เราเล่าถึง สายงานอาชีพในอนาคต หรือ Career Path ของเราให้ชัดเจน ไม่แปลกใจเลยหาก เนื้อหา Course Work ในระดับปริญญาโทจะ เข้มข้นขึ้นมาอีกระดับนึง

สำหรับปริญญาเอกนั้นจะแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง การเรียนปริญญาเอก (Ph.D. หรือ Doctorate of Philosophy) นั้น ทางมหาวิทยาลัยได้เปลี่ยนเป้าหมายทางการศึกษาจากการเรียนเพื่อให้มีความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน เป็นการเรียนเพื่อผลิตองค์ความรู้ใหม่ๆ

การผลิตองค์ความรู้ ดังกล่าวก็ คือการทำวิจัยโดยใช้หลักวิทยาศาสตร์ หรือ Scientific Method นั่นเอง

ประเด็นนี้สำคัญเพราะมีนัยยะ สำหรับการเขียน Statement of Purpose ของผู้สมัครเรียนปริญญาเอก รวมไปถึงวิธีการคัดเลือกผู้สมัครด้วย โดยทาง Admission Committee จะไม่ได้เน้น เรื่องราวส่วนตัว อันรวมไปถึงความสนใจส่วนตัวหรือกิจกรรม และความเป็นอัตลักษณ์ของตัวเรา แต่จะเน้นถึงความสามารถของเราในการทำวิจัยทางสาขาวิชาที่เรา สมัคร

ผมอยากให้ผู้อ่านลองจินตนาการว่าองค์ความรู้ทั้งหมดในโลกเป็นวงกลมอันใหญ่ ทาง Admission Committee และ ทางมหาวิทยาลัย หวังว่า เหล่านักศึกษาปริญญาเอก จะสามารถ มีส่วนช่วยเหลือแต่งเติมวงกลมนั้นด้วยการผลิตความรู้จากวิทยานิพนธ์ ของเรานั่นเอง

ผู้อ่านอาจสังเกตว่า แต่ละคณะในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงขนาดใหญ่ จะรับนักศึกษาปริญญาตรีเป็นหลักร้อยในแต่ละปี ส่วนระดับปริญญาโทจะรับ ประมาณ 70-120 คนต่อปี แต่สำหรับระดับปริญญาเอกนั้น มักจะรับเพียง แค่ประมาณ 4-6 คนเท่านั้น

นั่นหมายความว่าหากเรามองในมุมการเงินของคณะ โปรแกรมปริญญาตรี และ ปริญญาโท เปรียบเสมือนถุงเงินหรือ Cash Cow ของคณะที่มีรายได้เข้ามา แต่ในทางตรงกันข้ามนักศึกษาปริญญาเอกนั้นจะได้ ทุนการศึกษาอันเป็นรายจ่ายของคณะ (Funding) ซึ่งหมายความว่า การศึกษาระดับปริญญาเอกนั้น แม้จะเป็นการเรียนก็จริงแต่ คณะก็จ้างนักศึกษาปริญญาเอกเหล่านั้นเข้ามา ฝึกงานการทำวิจัยนั่นเอง หรือจะมองอีกแง่หนึ่งคือทางคณะต้อง ลงทุน ในตัวนักศึกษาปริญญาเอกทุกคน โดยการให้ทุนการศึกษาต่อเนื่องคนละหลายปี

สรุปได้ว่า ถึงแม้ Application การสมัครเรียนปริญญาเอกจะมีคำถามมากมายหลากหลาย แต่สิ่งที่ ทาง Admission Committee ให้ความสนใจที่สุด และ เป็นสิ่งที่ ผู้สมัครควรให้ความสำคัญที่สุดในการเขียน Statement of Purpose คือ เราจะต้องสามารถตอบและทำให้ Admission Committee มั่นใจในตัวเราในประเด็นคำถามดังต่อไปนี้

1. ผู้สมัครคนนี้มีความสามารถที่จะทำวิจัย มากน้อยแค่ไหน

2. ผู้สมัครคนนี้มีความสนใจทางวิชาการที่สอดคล้องกับอาจารย์ในคณะมากน้อยแค่ไหน

3. ทางคณะสมควรลงทุนกับผู้สมัครคนนี้หรือไม่

การตอบคำถามใน 3 ประเด็นนี้คือ เนื้อหาหลักของ Statement of Purpose
ส่วนที่เหลือถือว่าเป็นเพียงองค์ประกอบเท่านั้น

ดร. พอล

……………………………..

Guest Blog Post ::: #1: The Ph.D. is a Different Animal

If we think of academic degrees as animals, the Ph.D., (Doctor of Philosophy) is a different species from the M.A/M.S.. and B.A./B.S. degrees (Masters and Bachelors) and therefore admissions personnel, often professors in the program, are looking for something different.

While the admission essay for a BA program might inquire about your background, interests and uniqueness – and the MA program is about your ability to do graduate-level work for professional practice – the Ph.D. is fundamentally a research degree, so your ability to, and interest in, research is what matters the most.

In a B.A. program, you are receiving knowledge. The expectation is that you demonstrate learning, through analyzing, synthesizing existing knowledge. The M.A. degree is, in many cases, an extension of the B.A. Analysis and synthesis of knowledge for application is done at a more rigorous level. Of course, depending on the discipline, professional M.A. degrees (i.e., MBA, Law) prepare you to for professional practice.

However, the Ph.D. is fundamentally about creating knowledge and knowledge creation is done through research and the scientific method. If you imagine the large body of knowledge as a giant circle, the Ph.D. requires that you contribute a small piece to the larger existing body of knowledge.

Most academic programs accept a couple hundred B.A. students annually. Perhaps slightly less, but still a class of 70-150 M.A. students is quite common. Yet each year, only around 4-6 Ph.D. students are accepted, some times even less.

What you may not know is that tuition money from B.A. and M.A. programs will often be used to fund Ph.D. students. Wait. “They’re PAYING Ph.D. students to study?” you might ask. Somewhat. While many programs do pay Ph.D. students, they are not paying them just to study per se, but rather help professors conduct research. So for many programs, Ph.D. students are ‘research assistants’ (its also cheaper than hiring a full-time professor).

Therefore, programs make an investment in Ph.D. candidates and the most important thing for the admissions committee to do is to ensure that the candidate:

1) has the ability, intellectual rigor, to conduct research,

2) has research interests that are a fit with faculty.

When writing your PhD statement of purpose (some departments call it a statement of research interests), you’re not trying to highlight your unique background, life story, or ‘impress’ the committee with your actual statement. You impress the committee by describing, in sufficient details your research interests, why you have those interests, how your previous training (at B.A. or M.A. levels) has prepared you for more research (because that’s 99%, ok maybe 98% of a Ph.D. student’s life) and why your future career aspirations are primarily research-oriented.

As you put pen to paper for writing your statement of purpose, remember: The Ph.D. is a different animal.

Paul, Ph.D.,

……………………..

ขอขอบคุณ ดร.พอล Paul Hanvongse ที่กรุณาส่งบทความที่เป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ที่สนใจจะก้าวเดินบนเส้นทางของการศึกษาระดับปริญญาเอก

เพจก็แค่ปริญญาเอก รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นสื่อกลางในการมอบข้อมูลดีๆให้กับทุกท่าน Guest Post ครั้งต่อไปจะเป็นใคร และเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร คอยติดตามกันนะคะ

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s