1. ไม่แน่ใจ ไม่รู้จะเขียนอะไรดี
2. คิดว่าอ่านและทบทวนวรรณกรรมยังไม่พอ
3. ผลการวิจัยยังไม่สมบูรณ์…
4. คิดว่าการลงมือเขียนต้องไว้ตอนสุดท้าย
5. สองอาทิตย์ใกล้ส่งค่อยเริ่มเขียนก็ได้
6. ง่วง เหนื่อย เพลีย ล้า คิดไม่ออก
7. ลูกงอแง / แฟนงอแง
8. มีงานอื่นเข้าแทรกตลอด
9. กลัวจะออกมาไม่ดี
10.รอแรงฮึด ขาดแรงจูงใจ
การเขียน Thesis ให้ออกมาเป็นเล่มที่สมบูรณ์นั้น เป็นหนึ่งข้อเรียกร้องสำคัญสำหรับการศึกษาปริญญาเอก
ผู้เรียนต้องลงมือเขียนไปเรื่อยๆ ตั้งแต่วันแรกที่กำหนดหัวข้อวิจัยได้ ผู้เรียนต้องลงมือเขียนตั้งแต่วันที่ยังรู้สึกไม่พร้อม ไม่มีอะไรจะเขียน และไม่มีอะไรชัวร์นั่นแหละ
อย่างน้อยในวันที่มีแค่ตัวเรา หน้าจอคอมพิวเตอร์ที่ว่างๆ และสมองที่ว่างๆ ผู้เรียนจะได้เริ่มต้นคิด จดจ่อ ร่างความคิดต่างๆไว้ แล้วค่อยๆไปหาองค์ความรู้สำคัญมาใส่เพิ่มเติมลงไปในงานนั้น
เมื่อทำไปเรื่อยๆ ความมั่นใจจะค่อยๆมา อย่ารอจนกว่าจะพร้อมร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะหากรอวันนั้น เราอาจจะไม่ได้เขียนอะไรเลยก็ได้ ทุกทักษะจะค่อยๆเกิดขึ้นจากการลงมือเขียน
ระหว่างการลงมือทำ เราสามารถทบทวนและทำให้ดีขึ้นตลอดเวลา ค่อยๆเก็บสิ่งที่ใช่ ตัดสิ่งที่ไม่ใช่ ก็น่าจะดีกว่าไม่รู้จะเก็บหรือตัดอะไรเลย
ถ้าเราเขียนได้วันละ 1 หน้า 10 วันก็ 10 หน้า 30 วันก็ 30 หน้า ผลลัพธ์ที่ได้ก็น่าจะดีกว่านั่งกลัว ไม่แน่ใจ และรอแรงฮึดไปเรื่อยๆ
เขียนเรื่อยๆ เขียนตลอด หยุดเขียนก็ต่อเมื่อต้องการหยุดพัก (take a break) เท่านั้น…
ลงมือเขียน ไร้ข้ออ้าง ทำทุกทาง เพื่อจุดหมายนั้นที่ต้องการไปถึง…
Credit photo: http://www.notonthehighstreet.com/wallart/product/