
…การเขียนวิทยานิพนธ์ ต้องผ่านการทบทวน แก้ไข เรียบเรียง ลำดับเรื่องใหม่ ตัดบางส่วนออก หรือ รื้อทั้งหมด แล้ว เริ่มต้นใหม่เมื่อเขียนงานเสร็จ หนึ่งหัวข้อ หนึ่งบท หรือ ทั้งเล่ม …
แน่นอนว่า การแก้ไข ทบทวน ตัดออก หรือ รื้อใหม่ เป็น ความเจ็บปวด
หลายครั้ง ส่วนที่ถูกตัดออก ถูกมองว่า เป็น หยาดเหงื่อ เลือดเนื้อ และน้ำตา
แต่อะไร ที่ ไม่ใช่ ก็คือไม่ใช่
มองให้ออก ตัดให้ถูกที่ เก็บเฉพาะส่วนที่ใช่ แล้วไปต่อ…
จงพร้อมที่จะตั้งคำถามที่ท้าทายและจัดการกับตัวเอง แต่เนิ่นๆ (ก่อนที่มหาวิทยาลัยจะส่งคนอื่น -กรรมการสอบ- มาจัดการกับเรา)
…ชีวิตของคนเราก็เช่นกัน ต้องผ่านการทบทวน แก้ไข เรียบเรียง ลำดับเรื่องใหม่ ตัดบางส่วนออก หรือ รื้อทั้งหมด แล้ว เริ่มต้นใหม่
ชีวิตไม่ใช่แค่ไปต่อ ให้รีบเสร็จๆๆ จบๆๆ หมดไปวันๆ
คนเราจำเป็นต้องทบทวนโดยตั้งคำถามกับตัวเองเสมอว่า…
มีส่วนใดในชีวิตที่เป็นส่วนเกิน ไม่เกี่ยวข้อง ขาดความเชื่อมโยงกับแก่นภายใน
ตั้งคำถามกับตัวเองเสมอว่า…
ทำไมถึงคิดเช่นนี้ พูดแบบนี้ และ ทำแบบนี้
เพราะทุกความคิด ทุกคำพูด และ ทุกการกระทำ ส่งผลต่อภาพรวมและคุณภาพของชีวิต
แน่นอนว่า การแก้ไข ทบทวน ตัดออก หรือ รื้อใหม่ เป็น ความเจ็บปวด
หลายครั้ง ส่วนที่ถูกตัดออก ถูกมองว่า เป็น หยาดเหงื่อ เลือดเนื้อ และน้ำตา
แต่อะไร ที่ ไม่ใช่ ก็คือไม่ใช่
มองให้ออก ตัดให้ถูกที่ เก็บเฉพาะส่วนที่ใช่ แล้วไปต่อ…
จงพร้อมที่จะตั้งคำถามที่ท้าทาย และจัดการกับตัวเองแต่เนิ่นๆ (ก่อนที่ชีวิตจะส่ง -บทเรียนที่ท้าทาย- มาจัดการกับเรา)
งานวิทยานิพนธ์ที่เบาสบาย ตรงประเด็น เชื่อมโยงกับแก่นภายใน คือ งานวิทยานิพนธ์ ที่ คมชัด มีคุณภาพดี และ ไปได้ไกลกว่า วิทยานิพนธ์ ที่พะรุงพะรัง เยอะแยะ เหลือคณานับ
ชีวิตที่เบาสบาย ตรงประเด็น เชื่อมโยงกับแก่นภายใน คือ ชีวิต ที่ คมชัด มีคุณภาพดี และ ไปได้ไกลกว่า ชีวิต ที่พะรุงพะรัง เยอะแยะ เหลือคณานับ
ลุกขึ้นมา เป็นบรรณาธิการของวิทยานิพนธ์ตัวเอง…
ลุกขึ้นมา เป็นบรรณาธิการของชีวิตตัวเอง…
#ก็แค่ปริญญาเอก #justaphd
Credit photo: https://instagram.com/p/3ouZp4SJI1/