9 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเรียนปริญญาเอกในประเทศอังกฤษ

IMG_01741. การเรียนปริญญาเอกในประเทศอังกฤษเป็นการเรียนแบบเน้นการทำวิจัย (Research degree) ต่างจากสหรัฐอเมริกา ที่ใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบเรียนรายวิชาและการทำวิจัย (Academic Degree)

2. ถึงแม้จะเป็นการเรียนแบบเน้นการทำวิจัยอย่างเดียว มหาวิทยาลัยจะบังคับให้นักศึกษาลงเรียนวิชาระเบียบวิธีวิจัย อีกทั้งสนับสนุนให้นักศึกษาเข้าเรียนในบางวิชาร่วมกับนักศึกษาระดับปริญญาโท ตามที่อาจารย์ที่ปรึกษาและนักศึกษาเห็นว่าเหมาะสมและจะเป็นประโยชน์กับหัวข้อวิจัย

3. โดยส่วนใหญ่ หลักสูตรปริญญาเอกในประเทศอังกฤษ มีระยะเวลา 3 ปีสำหรับนักศึกษา full-time และ มีระยะเวลา 5 ปี สำหรับนักศึกษา part-time

4.เกณฑ์การรับเข้าเรียนในหลักสูตรระดับปริญญาเอก คือผู้สมัครต้องจบปริญญาตรีด้วยคะแนนเกียรตินิยมอันดับสองเป็นอย่างน้อย หรือไม่ก็ต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์การทำวิจัยมาก่อน หรืออาจเคยมีผลงานตีพิมพ์มาแล้ว แต่ทั้งนี้ ก็อาจพิจารณาเป็นรายกรณีไป โดยสอบถามความเห็นของอาจารย์ที่ปรึกษาด้วย

5. หลักสูตรปริญญาเอกอีกรูปแบบ คือ professional doctorate เช่น DBA (Doctor of Business Administration) ที่เน้นทั้ง coursework และ research training หลักสูตร professional doctorate นี้แตกต่างกับหลักสูตรปริญญาเอกแบบ PhD เพราะหัวข้อวิจัยมักเน้นการนำไปประยุกต์ใช้ในสาขาวิชาชีพนั้นๆ เน้นการผลิตนักปฏิบัติที่มีความเชี่ยวชาญมากกว่านักปรัชญา (philosopher)

6. ประเทศอังกฤษมี หลักสูตรการเรียนการสอนแบบเน้นการทำวิจัย (Research degree) ในระดับปริญญาโทด้วย เรียกว่า Master of Research (M.Res.) และ Master of Philosophy (M.Phil.) โดย หลักสูตร M.Res. ใช้เวลาเรียน 1 ปีสำหรับนักศึกษา full-time และ 18 เดือนสำหรับนักศึกษา part-time และ หลักสูตร M.Phil. ใช้เวลาเรียน 2 ปี สำหรับนักศึกษา full-time และ 3 ปีสำหรับนักศึกษา part-time หลักสูตรปริญญาโทแบบนี้ไม่มีการเรียนรายวิชา เน้นการทำวิจัย เหมาะกับผู้ที่เคยมีประสบการณ์วิจัย หรือ ผู้ที่ต้องการเตรียมพร้อมตนเองในด้านการทำวิจัยก่อนศึกษาต่อระดับปริญญาเอก

7. การเรียนปริญญาเอกในรูปแบบดั้งเดิมของอังกฤษที่เน้นเฉพาะการวิจัย (traditional PhD) ในปัจจุบัน ถูกวิพากษ์ว่าแคบเกินไป เรียนจบแล้วหางานยาก โดยเฉพาะในโลกยุคปัจจุบันที่ผู้เรียนจบอาจต้องการไปสมัครทำงานในสายอาชีพอื่น รวมถึง การสมัครเข้าเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเป็นเรื่องยาก ต่างกับในอดีต ที่ ดีกรีปริญญาเอก เป็น “a licence to teach” และส่วนใหญ่ผู้ที่จบไปต้องมีอาชีพเป็นอาจารย์เท่านั้น

8. ด้วยเหตุนี้ ประเทศอังกฤษจึงเริ่มปรับหลักสูตรเพื่อตอบโจทย์สังคมโลกที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้ผู้ที่จบหางานง่ายขึ้น เพื่อดึงดูดนักศึกษาต่างชาติ และเพื่อแข่งขันกับ “American PhD” โดยปรับแนวทางการเรียนการสอนให้มีการเรียนรายวิชา มีการ training ต่างๆ บวกกับการทำวิจัย เพิ่มระยะเวลาหลักสูตรจาก 3 ปี เป็น 4 ปี (1 ปี สำหรับ training + 3 ปี สำหรับ research) ตัวอย่างโครงการปริญญาเอกแบบใหม่มีชื่อว่า “New Route PhD” หารายละเอียดหลักสูตรและมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมโครงการนี้ได้ที่ http://www.newroutephd.ac.uk/index.html

9. ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005 เป็นต้นมา หน่วยงาน Higher Education Funding Council of England (HEFCE) ได้เริ่มวัดอัตราการจบการศึกษาภายในระยะเวลา 4 ปีของนักศึกษาปริญญาเอก เป็นหนึ่งในเกณฑ์การวัดคุณภาพของมหาวิทยาลัย กล่าวคือ หากมหาวิทยาลัยใดมีอัตราการจบการศึกษาภายในระยะเวลา 4 ปี สูงจะได้รับทุนสนับสนุนและได้รับการจัดลำดับอยู่ในมหาวิทยาลัยที่ดีและมีความสามารถ ในขณะที่ หากอัตราการจบการศึกษาระดับปริญญาเอกภายในเวลา 4 ปี อยู่ในเกณฑ์ต่ำ หน่วยงานให้ทุนจะงดให้การสนับสนุนและมหาวิทยาลัยจะถูกจัดลำดับอยู่ในมหาวิทยาลัยที่มีคะแนนต่ำด้วย นโยบายที่นำมาปฏิบัตินี้ตั้งอยู่บนฐานความคิดที่ว่าการเรียนปริญญาเอกนั้นเปรียบเสมือนการฝึกฝนการทำวิจัย (research training) กล่าวได้ว่า เป้าหมายของการผลิตปริญญาเอกในปัจจุบันต่างจากยุคก่อนที่ให้ความสำคัญกับการวิจัยแบบลึกซึ้งเพื่อให้ได้องค์ความรู้ใหม่ที่เป็นต้นแบบ โดยไม่คำนึงถึงระยะเวลาในการทำ แต่ ในปัจจุบันการสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นต้นแบบถึงแม้สำคัญ แต่ต้องได้มาพร้อมกับทักษะอื่นๆ ด้วย เช่น ความสามารถในการจัดการเวลา และทักษะการสื่อสาร เป็นต้น

‪#‎JustaQuickNote‬ ‪#‎เพจก็แค่ปริญญาเอก‬ ‪#‎JustaPhD‬

1 ความเห็น

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s