กว่าจะเป็นดุษฎีบัณฑิต :: ดร.แนน ณติกา ไชยานุพงศ์

สวัสดีเพื่อนๆชาว #ก็แค่ปริญญาเอก #justaphd ค่ะ

เมื่อคราวที่แล้ว แนนได้มาเล่าประสบการณ์ในการป้องกันดุษฎีนิพนธ์ให้เพื่อนๆได้อ่าน ในวันนี้แนนจะมาเล่าประสบการณ์ในการทำดุษฎีนิพนธ์ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาให้ฟังกันค่ะ เผื่อประสบการณ์ของแนน จะเป็นประโยชน์และเป็นแรงบันดาลใจให้เพื่อนๆหลายๆคนได้

defense4

ต้องย้อนกลับไปเมื่อ 5 ปีที่แล้วตอนที่แนนเริ่มเรียนปริญญาเอกใหม่ๆ ครั้งแรกที่ได้ยินคำว่า dissertation บอกเลยค่ะว่ารู้สึกกังวลมาก ดูมันช่างยากเย็นมาก กว่างานวิจัยจะเสร็จออกมา 1 เล่ม แนนคิดในใจนะคะว่า แนนจะทำได้เหรอ ต้องเขียนเล่มเป็นภาษาอังกฤษ แถมยังต้องเป็นการเขียนเชิงวิชาการ ไหนจะต้องนำเสนอ ทุกอย่างมันดูยากไปหมด

หลังจากนั้น เมื่อถึงเวลาที่จะต้องเลือกหัวข้อ แนนใช้เวลากว่า 1 ปี ในการเฟ้นหาหัวข้อที่แนนอยากทำจริงๆ สิ่งสำคัญที่สุดในการเลือกหัวข้อดุษฎีนิพนธ์ คือเลือกเรื่องที่เรามี passion ที่ปรึกษาแนนบอกว่า ให้เลือกหัวข้อที่เวลาเราพูดหรือนำเสนอให้คนอื่นๆฟัง แล้วเค้าสามารถเห็นประกายออกจากตาของเรา ตอนแรกแนนก็ไม่ค่อยเข้าใจหรอกค่ะ แต่พอได้เห็นตัวอย่างจากเพื่อนร่วมชั้นเรียนจึงเข้าใจว่า หัวข้อที่เราเลือกนั้นควรจะเป็นหัวข้อที่เรารู้สึกตื่นเต้น กระตือรือล้น ที่จะพูดและอธิบายถึง

หลักข้อที่สองคือ หัวข้อที่เราเลือกควรจะเป็นหัวข้อที่เราสนใจจริงๆ เพราะอย่าลืมนะคะว่า เราต้องอยู่กับหัวข้อนี้เป็นเวลา1-2 ปี เพราะฉะนั้น ถ้ามันเป็นหัวข้อที่เราชอบ เราจะไม่รู้สึกเบื่อที่จะทำมันค่ะ

nan1

แนนเลือกทำหัวข้อเกี่ยวกับทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy Philosophy) ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวค่ะ โดยส่วนตัว แนนสนใจ การพัฒนาอย่างยั่งยืน (sustainability development) อยู่แล้ว และตั้งใจว่า จะหาหัวข้อที่สามารถนำไปพัฒนาต่อในประเทศไทยได้ ก็เลยมาลงตัวที่ทฤษฎีนี้ แต่มันไม่ได้ง่ายอย่างที่คิดเลยค่ะ

เนื่องด้วยสถานการณ์บ้านเมืองของเรา ที่ปรึกษาแนนซึ่งเป็นคนอเมริกันค่อนข้างจะกังวลมากๆ เกี่ยวกับหัวข้อนี้ แนนต้องพยายามชี้แจงให้ที่ปรึกษาฟัง หาข้อมูลที่น่าเชื่อถือว่า การศึกษาทฤษฎีนี้สามารถทำได้และวิจารณ์ได้ แม้ว่าจะเป็นทฤษฎีตามแนวพระราชดำริ แนนใช้เวลากว่า 1 ปีเต็มในการรวบรวมข้อมูลและเขียน proposal

ช่วงแรกๆ มีความคิดว่า อยากเปลี่ยนหัวข้อเหมือนกันนะคะ แต่ทั้งเพื่อนและอาจารย์ที่ปรึกษาต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า หัวข้อนี้เป็นหัวข้อที่ตาของแนนเป็นประกายเวลาพูดถึง และแนนก็รู้สึกแบบนั้นจริงๆ แนนเลยเลือกที่จะไม่เปลี่ยนหัวข้อและพยายามศึกษาโดยพยายามหลีกเลี่ยงเรื่องที่ที่ปรึกษาเห็นว่ามัน sensitive เกินไป แนนเลือกศึกษาโดยใช้วิธีการเชิงคุณภาพ เพราะแนนอยากได้ผลลัพธ์ที่ไม่ใช่ตัวเลข และต้องการผลลัพธ์ที่สามารถเอาไปขยายผลได้ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

nan3.jpg

กุญแจ ข้อที่สามคือเลือกวิธีการ (method) ที่สามารถให้คำตอบเราได้ตามที่เรา คาดหวัง ซึ่งมีทั้งเชิงปริมาณ (quantitative) เชิงคุณภาพ (qualitative) และแบบผสม (mixed methods) ซึ่งวิธีการแต่ละอย่าง ใช้ระยะเวลาต่างกัน แต่ข้อมูลที่ได้จะเข้มข้นมากน้อยก็ต่างกันด้วย

สิ่งที่แนนเรียนรู้คือ อย่ากลัวว่าจะต้องใช้เวลานานกว่าคนอื่น เพราะเราสามารถเรียนรู้อะไรมากมายได้ตลอดระยะเวลาการทำดุษฎีนิพนธ์ค่ะ ตัวแนนเองเลือกวิธีการเชิงคุณภาพ โดยเน้นที่ข้อมูลจากการสัมภาษณ์และการสังเกต ซึ่งใช้เวลาในการถอดเทปและวิเคราะห์นานมาก แต่ข้อมูลที่ได้นั้น ไม่สามารถหาได้จากวิธีการเชิงปริมาณแน่นอน
และแล้วก็มาถึงการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูล การสร้างความคุ้นเคยกับบุคคลและสถานที่ที่เราจะไปศึกษาจะช่วยให้เราสามารถเข้าถึงกลุ่มตัวอย่างได้ง่ายขึ้น การ build trust กับกลุ่มตัวอย่างคือ กุญแจสำคัญ อีกอย่างหนึ่งที่จะทำให้เราได้ข้อมูลที่สำคัญแก่การวิเคราะห์ของเราค่ะ

สุดท้ายนี้ แนนพบว่า การเลือกหัวข้อดุษฎีนิพนธ์ และวิธีการที่เราสนใจจริงๆ จะทำให้เรารู้สึกสนุก และกระตือรือล้นที่จะทำเล่มออกมาให้ได้ดี สำหรับแนน ระยะเวลา 2 ปีที่อยู่กับหัวข้อที่แนนเลือก นั้นคุ้มค่าค่ะ

และดุษฎีนิพนธ์ของแนน ก็ให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า เพราะงานวิจัยของแนนได้รับรางวัล MSR Most Promising Dissertation Awards จากงานประชุมวิชาการ Academy of Management ซึ่งเป็นการประชุมวิชาการระดับ International 

หวังว่าประสบการณ์ของแนนอาจจะเป็นแรงบันดาลใจให้หลายๆคนได้นะคะ

nan2.jpg

——-
Credit Text: ดร.แนน ณติกา ไชยานุพงศ์ PhD in Organizational Psychology,
California School of Professional Psychology, San Francisco, USA

ตามไปอ่านบทความ “ประสบการณ์ในการสอบป้องกันดุษฎีนิพนธ์” โดย ดร.แนน ณติกา ได้ที่นี่ http://goo.gl/bmI02i

เพจก็แค่ปริญญาเอก ยินดีเปิดพื้นที่สำหรับการแบ่งปันประสบการณ์เกี่ยวกับ “การเรียนปริญญาเอก”
มาร่วมแบ่งปัน ช่วยกันสร้างชุมชนดีดี

1 ความเห็น

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s