ผู้เขียนขอย้ำอีกหลายๆ ครั้งว่า “วิทยานิพนธ์เป็นงานเขียน”
…การเขียนวิทยานิพนธ์ อาศัย “ทักษะ” ที่แตกต่างจาก “ทักษะอื่น”
ผู้เรียนไม่สามารถใช้ทักษะอื่น (เช่น การพูด พรีเซนต์ อ่าน ฟัง) มาใช้แทน “ทักษะการเขียน” ได้
…การเขียนวิทยานิพนธ์ ต้องอาศัยเทคนิคและวิธีการเฉพาะตัว
ตราบใดที่ยังไม่ได้เริ่มต้น “เขียน”
ผู้เรียนจะไม่สามารถพัฒนาเทคนิคนั้นได้เลย
การนึกเอา ฝันเอา ไม่สามารถทำให้ “งานเขียน” สำเร็จเป็นรูปเล่มได้
การเครียดและกังวลจนเกินกว่าเหตุ ก็ไม่ช่วยอะไรเช่นกัน…
วิทยานิพนธ์เป็นงานที่ต้องปรับปรุงอยู่เสมอ
จงเริ่มต้นจากการเขียน “งานที่แย่ที่สุด” ในร่างแรก
และพัฒนา สู่ ร่างต่อไป และต่อไป…
ผู้เรียนควร มุ่งมั่น กัดไม่ปล่อย และให้เวลาอย่างพอเพียง ในการปรับปรุงแก้ไข
การยอมรับให้ได้ใน “คอมเม้นท์” ที่เสียดแทงใจในทุกหน้ากระดาษ ถือเป็นทักษะสำคัญ…
วิทยานิพนธ์เป็นงานละเอียด
ผู้เรียนจำเป็นต้อง “ใส่ใจ” กับ “ทุกถ้อยคำ” ที่ถ่ายทอดลงในงาน
เลือกหยิบใส่เฉพาะบางคำและบางประโยคที่ใช่
และหยิบออกอีกหลายๆ คำ หลายๆ ประโยค ที่ไม่ใช่/ไม่เกี่ยวข้อง
นอกจากแก้ไขตาม “คอมเม้นท์” ของอาจารย์
ไม่มีอะไรจะดีไปกว่า “การตรวจสอบ” และ “แก้ไข” ด้วยตนเอง
วิทยานิพนธ์เป็นงานที่ต้องถูกตรวจสอบ
เพราะขั้นตอนสุดท้ายคือ การสอบวิทยานิพนธ์
กรรมการสอบ จะ “อ่าน” “งานเขียน” นั้นๆ อย่างถี่ถ้วน
เพื่อให้แน่ใจว่า วิทยานิพนธ์นั้นสมบูรณ์-จบในตัวเอง
แน่นอนว่า ไม่มีงานเขียนไหนที่ “สมบูรณ์แบบ” อย่างแท้จริง
การมี วิทยานิพนธ์ที่เสร็จ (ในเวลาที่กำหนด) ดีกว่า งานที่สมบูรณ์แบบ
แต่กว่า วิทยานิพนธ์ แต่ละเล่มจะ “เสร็จสมบูรณ์”
ต้องผ่านความทุ่มเทและพยายามอย่างมหาศาล
เราขอชื่นชมกับทุกความพยายาม
กับทุกหยาดเหงื่อ และคราบน้ำตา
ความสำเร็จจะมีค่ามากขึ้น เมื่อคุณรู้ตัวเองดีว่า
ในระหว่างเส้นทางที่ผ่านมา คุณได้ลงมือทำอะไรและอย่างไร
Keep going…
Thesis writing in progress…
#เพจก็แค่ปริญญาเอก
#JustaPhD
Credit pic: http://www.redwallpapers.com/wallpaper/