จ่ายครบ…ต้องจบแน่?!!

ช่วงเวลา “โค้งสุดท้าย” ของนักศึกษาปริญญาโท-เอก หลายคน

แท้จริงแล้ว คือช่วงเวลาที่จะ “หมดเขต” การส่งเล่มวิทยานิพนธ์/ดุษฎีนิพนธ์ ตามปฏิทินการศึกษาของมหาวิทยาลัย นี่เอง

เป็น “โค้งสุดท้าย” จริงๆ ที่จะตัดสินว่า นักศึกษาจะ “สอบผ่าน” ได้เป็นมหาบัณฑิต/ดุษฏีบัณฑิตหรือไม่

เมื่อเวลากระชั้นเข้ามา….

นักศึกษาหลายคนเพิ่งตระหนักได้ว่า

“เวลา” (ในโค้งสุดท้าย) นี้ “มีค่า” มากเพียงใด

และดูเหมือนว่า “เวลา” นี้ จะมีค่ามากกว่าช่วงเวลาทั้งหมด ที่ผ่านมาหลายปี

ทุกวินาที ต้องถูกใช้อย่างมีสติ ในการรีบเร่งแก้ไข/ปรับปรุงเล่มวิทยานิพนธ์ให้เสร็จสมบูรณ์

สำหรับบางคน ช่วงเวลาโค้งสุดท้าย ทำให้เขาต้องฮึดสู้อย่างหนัก ไม่หลับไม่นอน เพื่อทำผลงานที่ดีพอและพอดี

แต่สำหรับบางคน ช่วงเวลาโค้งสุดท้าย ทำให้เขาต้องหาทาง “เอาตัวรอด” เพื่อผ่านพ้นจากสถานการณ์/ภาวะวิกฤต ด้วยวิธีที่แตกต่างกัน

บางคน นอกจากไม่ยอมทุ่มเทสละ “เวลา” และ “แรงกาย” อย่างเต็มที่ในช่วงสุดท้าย

กลับหันไปหา “ตัวช่วย” แบบผิดๆ ที่คิดว่า จะทำให้ตัวเองได้ปริญญา โดยไม่ต้องลงมือทำ

บางคน ใช้เวลาเป็น “เงื่อนไข” ให้อาจารย์ที่ปรึกษาเร่งตรวจงาน เร่งอนุมัติให้ตัวเองขึ้นสอบ เพื่อให้ตัวเอง “จบ” ได้ทันเวลา

ยิ่งไปกว่านั้น สำหรับบางคน ยื่นข้อเรียกร้องและร้องเรียน เพื่อใช้ “เวลา” เป็น “เหตุผล” เพียงอย่างเดียว ให้ตนเอง “ต้องจบ”!

เสียงแว่วที่ได้ยินเข้าหู จากผู้เรียนบางคน ในช่วงเวลาเหล่านี้ คือ

1. อยากจบ…เสียดายเงิน

2. จะให้เสียเวลาตั้ง 5 ปี โดยไม่ได้อะไรเลย อย่างนั้นหรือ

…แต่ถ้าทั้ง “เงิน” และ “เวลา” มีความสำคัญจริง อย่างที่ผู้เรียนพูด

ผู้เรียนคงไม่ปล่อยทั้งเงินและเวลาให้สูญเปล่าในห้วงเวลาที่ผ่านมา

และคงรีบเร่งทำวิทยานิพนธ์ให้เสร็จสิ้นโดยเร็วไปนานแล้ว

ดังนั้น สิ่งที่ทุกคนทำ เมื่อถึงกำหนดเส้นตาย

จึงสะท้อนสิ่งที่เขาคิดเกี่ยวกับ “การศึกษา” และความหมายของคำว่า “ปริญญา” อย่างตรงไปตรงมาที่สุด

แท้จริงแล้ว การขึ้นสอบและส่งเล่ม ในวันเส้นตายสุดท้าย-ท้ายสุดตามปฏิทินการศึกษา

ก็เป็นการแสดงหลักฐานเชิงประจักษ์ อยู่แล้วว่า ผลงานที่ผ่านมาของผู้เรียนเป็นอย่างไร

ปริญญา ก็คือ ปริญญา

และปริญญา ไม่ใช่แค่ กระดาษใบเดียว

ความหมายของปริญญา ที่แท้จริงนั้น มีมากกว่า ชื่อ และลายเซ็น ที่ปรากฏบนนั้น

และงานวิทยานิพนธ์/ดุษฎีนิพนธ์ ก็เป็นงานที่มีมาตรฐานอยู่ในตัวของมันเอง

หากผู้เรียนจะตระหนักอีกสักนิดว่า

โลกแห่งวิชาการ ไม่ได้เหมือนกับ โลกภายนอก เท่าใดนัก

โลกแห่งวิชาการ เป็นโลกที่เต็มไปด้วยเหตุและผล อย่างตรงไปตรงมา

ในขณะที่โลกภายนอก เต็มไปด้วยการแย่งชิงความได้เปรียบ การหาโอกาสและทางรอดให้ตัวเองด้วยวิธีที่แยบยล

ในโลกวิชาการ ตราบใดที่คุณมีเหตุและผล มีที่มาที่ไป มีความสามารถในการเขียนอธิบาย และเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ ที่ปรากฏในงานวิทยานิพนธ์ของคุณได้อย่างชัดเจน

งานของคุณก็ถือว่าได้มาตรฐานในแบบที่มันควรจะเป็น

การ “สอบตก” ก็เกิดขึ้นได้ และถือเป็นเรื่องค่อนข้างปรกติในโลกวิชาการ

ถ้างานวิทยานิพนธ์/ดุษฎีนิพนธ์ ไหน ไม่มีการอธิบายที่เป็นเหตุเป็นผล ก็ถือว่างานนั้นไม่ได้มาตรฐานตามที่มหาวิทยาลัย/หลักสูตร/กรรมการสอบได้ตั้งเกณฑ์ไว้

ตรงไปตรงมา อย่างนั้นเลย

“จ่ายครบ..ต้องจบแน่” ?

เหตุที่ผู้เขียนตั้งชื่อบทความเช่นนี้

เพราะความคิดเช่นนี้ยังคงมีอยู่ในสังคมไทย

ถึงเวลาแล้วหรือยัง กับการตั้งคำถามออกไปดังๆ ว่า…

ความหมายของ “การศึกษา” และ “ปริญญา” คืออะไร

ท้ายที่สุด ผู้เขียนเชื่อว่า

การรักษา “คุณค่า” ของการศึกษา

อยู่ที่สองมือของทั้ง ผู้เรียน อาจารย์ และมหาวิทยาลัย

ที่จะต้องตอบตัวเองว่า เขาเห็นคุณค่าของสิ่งเหล่านี้แค่ไหน

และได้พยายามอย่างเต็มที่เต็มกำลังแล้วหรือยัง

กับการรักษา “คุณค่าของการศึกษา” ให้คงอยู่ต่อไป

#ก็แค่ปริญญาเอก

Credit pic : lets3njoylife.wordpress.com/2013/08/01

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s