รศ.ดร ศากุน บุญอิต :: คอลัมน์แขกรับเชิญ ::คุยเรื่องเรียนด๊อกเตอร์กับด๊อกเตอร์

ความหมายของปริญญาเอก คือ “การรักในการค้นหาความรู้”

049_2_sakul-570x570.jpg

…คอลัมน์แขกรับเชิญวันนี้ เราพาไปพูดคุยกับ รศ.ดร ศากุน บุญอิต อาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็นอาจารย์ที่ปรึกษานักศึกษาปริญญาเอก

รศ.ดร.ศากุน สำเร็จการศึกษาปริญญาเอกจาก สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย สาขา Operations and Technology Management และปริญญาโทด้าน Operations Management ที่ Southern Methodist University สหรัฐอเมริกา เจ้าของเพจ ‘Fast Forward Statistics’ ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับสถิติเพื่อการวิเคราะห์

– ตอนที่อาจารย์เรียนปริญญาเอก พบเจออุปสรรคอะไรบ้างคะ

…จำไม่ค่อยได้ว่าเจอปัญหาอุปสรรคอะไรบ้าง แต่หลักๆ คงเป็นเรื่องการจัดการเวลา และสร้างความมุ่งมั่นในการสำเร็จ PhD เนื่องจากพออยู่ในเมืองไทย จะมีสิ่งเร้าต่างๆ ที่ทำให้เราไม่ Focus ส่วนปัญหาด้านอื่นๆ ไม่ค่อยเจออะไรมาก

แต่จะบอกว่าไม่มีปัญหาก็ไม่ใช่ แต่รู้สึกบวกกับปัญหาหรืออุปสรรคต่างๆ เพราะมองว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้ เจอปัญหาก็แก้ แล้วเรียนรู้ว่า เกิดจากอะไร จะกระทบอะไรในกระบวนการทำวิจัย

อีกสิ่งหนึ่งที่ยากตอนนั้น คือ การบริหารเวลาให้ดีในการเข้าพบ Advisor เวลาเข้าพบต้องเร็ว ตรงประเด็น จับใจความ ไม่ถามว่าอันนี้ทำยังไง แต่ต้องหาข้อมูลไปก่อน เพียงขอข้อแนะนำว่า มีทางเลือก 1,2,3 แล้วอันไหนเป็นทางเลือกที่เหมาะสมสุด

เพราะ Advisor ทำงานบริหารด้วยจึงยุ่งมาก ส่วนในด้านการเรียนก็ไปเรื่อยๆ ใช้เวลาทั้งหมด 4 ปีกว่า ไม่มองว่า จบเร็วคือเก่งกว่า อันนั้นไม่ใช่แนวคิด PhD

28741242_2044721882211161_1116324269_n.jpg

– ในตอนนั้น ถ้าย้อนเวลากลับไปได้จะบอกตัวเองว่าอย่างไร

ถ้าย้อนเวลากลับไปบอกกับตัวเองว่า น่าจะมีโอกาสไปสร้าง Network กับต่างประเทศมากขึ้น จริงๆ ก็มีพอควรแต่ขาดบางส่วน บางประเทศไป ที่จะมาช่วยเราในการทำวิจัยในปัจจุบันได้มากขึ้น

– อาจารย์มองว่า ปริญญาเอกคืออะไร

ผมตอบในฐานะอาจารย์ ปริญญาเอก คือ Training มากกว่าการเรียน ผมไม่อยากให้เราใช้คำว่า เรียนปริญญาเอก ปริญญาเอกคือการ Train ให้เราพร้อมออกไปทำวิจัย (ที่ดี) และจบกระบวนการให้ได้ การทำวิจัยไม่ใช่จบแค่ Thesis แต่ต้องจบที่การตีพิมพ์งานวิจัยในวารสารวิชาการ (ที่มีคุณภาพ)

ดังนั้น ถ้าจบ PhD เราต้องทำกระบวนการทั้งหมดนี้ได้ ดังนั้น ไม่ใช่การเรียน เพราะการเรียนเป็นการเน้นไปรับความรู้ แต่ PhD เป็นการฝึกเราให้ออกไปทำวิจัยเพื่อแสวงหาความรู้ใหม่ได้

PhD ย่อมาจาก Doctor of Philosophy รากศัพท์ของคำว่า Doctor มาจาก Doctrine แปลว่า ความรู้ และคำว่า Philosophy รากศัพท์แปลว่า รักในการแสวงหาความรู้ รวมๆ กันแล้ว ความหมายของปริญญาเอก จึงหมายถึง “การรักในการค้นหาความรู้”

ตั้งต้นที่จุดนี้ การทำ PhD จะชัดเจนมากขึ้นว่า ควรต้องรู้อะไร หรือทำอะไรบ้าง ดังนั้น ตอบสั้นๆ คือ PhD เหมาะกับคนที่จะไปสอนต่อ โดยเฉพาะการสอนในมหาวิทยาลัย หรืออาจเหมาะกับ คนที่ต้องการค้นหาความรู้ใหม่ในการแก้ปัญหา

28906601_2044721878877828_463578457_n.jpg

– มีคำแนะนำสำหรับนักศึกษาปริญญาเอกอย่างไรบ้างคะ

ผมอยากบอกหรือแนะนำคนที่กำลังทำ PhD ตอนนี้ว่า ต้องรักในการค้นหาความรู้ใหม่และต้องสนุกกับมัน ไม่เช่นงั้น เราจะรู้สึกว่า ทรมาณมากในสิ่งที่ทำอยู่ ต้องรู้ว่า เป้าหมายของ PhD คืออะไร

จริงๆ แล้วเป้าหมายของการทำ PhD คือ การผึกหัดการทำวิจัยเพื่อค้นหาความรู้แล้วนำไปสอนได้ ต้องรู้ว่า เราจะต้องผึกหัดจนทำให้เป็นในเรื่องอะไรบ้าง สิ่งที่ต้องฝึกหัดมากๆ ทำบ่อยๆ จนชำนาญ ได้แก่ ทักษะด้านการ ฟัง พูด อ่าน เขียน และคิดวิเคราะห์ ต้องทำสิ่งเหล่านี้ตลอดเวลา ขาดด้านหนึ่งด้านใดไม่ได้

สิ่งที่อยากแนะนำสำหรับคนที่ทำ PhD ตอนนี้มากๆ คือ

…ฝึกหัดตัวเองให้ชำนาญในเครื่องมือ เทคนิคหรือวิธีวิจัยที่ใช้ในสาขาของตนเองให้เร็วที่สุด (ใน 2 ปีแรกต้องเชี่ยวชาญ) เมื่อเราเชี่ยวชาญชำนาญในสิ่งเหล่านี้แล้ว จะเพิ่มศักยภาพให้กับการค้นหาหัวข้อวิจัยและจะสามารถทำวิจัยในโจทย์ที่ซับซ้อนได้ นำไปสู่ Research contribution ที่มากขึ้น

ในปัจจุบัน (ในสาขาที่ผมทำวิจัย) ผมกำลังเน้นมากในเรื่องของสถิติวิเคราะห์เพื่อการวิจัย การมีข้อจำกัดในเรื่องนี้ จะทำให้เรามีจุดอ่อนในการอ่าน paper หรือการวิเคราะห์ข้อมูลที่ซับซ้อนมากๆ ดังนั้น ขอให้หาโอกาสเติมเต็มในสิ่งเหล่านี้ให้มากๆ

…อีกประเด็นคือ เรื่องการวิเคราะห์ข้อมูล (โดยเฉพาะเรื่องสถิติ) ที่มีข้อผิดพลาดเยอะมาก ตั้งแต่การออกแบบจนการวิเคราะห์ ทำให้งานวิจัยที่ออกมาไม่มีคุณภาพ ผมต้องของคุณเพจ ‘ก็แค่ปริญญาเอก’ ที่ช่วย share เพจใน Facebook ที่ผมสร้างขึ้น ชื่อ ‘Fast Forward Statistics’ ซึ่งเป็นเพจที่ให้ความรู้สำหรับสถิติเพื่อการวิเคราะห์

…และสุดท้าย ด้านการเขียนต้องฝึกมากๆ เขียนทุกวันและตั้งเป้าตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการที่มีคุณภาพให้ได้ เพื่อเป็นการพิสูจน์ว่าเราไม่ได้คิดว่างานวิจัยของเราดีกับแค่คนกลุ่มเดียว เมื่อสำเร็จการศึกษาปริญญาเอก โชคดีครับ

เพจก็แค่ปริญญาเอก ขอขอบคุณการแบ่งปันข้อคิดและประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์และแรงบันดาลใจที่ดีจาก รศ.ดร ศากุน บุญอิต มากค่ะ

เพจก็แค่ปริญญาเอก ยินดีเปิดพื้นที่สำหรับการแบ่งปันประสบการณ์การเรียนปริญญาเอก เชิญชวน inbox มาหาเรา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์กันค่ะ

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s