ดร.ปาริชาติ วงศ์วีระนนท์ชัย :: คอลัมน์แขกรับเชิญ:: คุยเรื่องเรียนด็อกเตอร์กับด็อกเตอร์

กลับมาอีกครั้งกับ คอลัมน์แขกรับเชิญ ของเพจก็แค่ปริญญาเอก ที่เราเปิดบ้านต้อนรับ และพูดคุยกับ “ดร.” และ “ว่าที่ดร.” เกี่ยวกับการเรียนปริญญาเอก

วันนี้เพจก็แค่ปริญญาเอกมีความยินดีต้อนรับ ดร.สาวสวยคนล่าสุด ที่เพิ่งสำเร็จการศึกษาปริญญาเอก Doctor of Philosophy (Communication Arts and Innovation) จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์มาหมาดๆ เธอเป็นอาจารย์จากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ “ดร.อาร์ค ปาริชาติ วงศ์วีระนนท์ชัย” ไปทำความรู้จักกับเธอกัน 

IMG_0015.JPG

สวัสดีค่ะ ช่วยแนะนำตัวหน่อยค่ะ

 “อาร์ค” ปาริชาติ วงศ์วีระนนท์ชัย ค่ะ ตอนนี้ เป็นอาจารย์ประจำภาควิชาการโฆษณา คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญค่ะ

 ทำไมถึงตัดสินใจเรียนปริญญาเอกคะ

 เหตุผลที่ตัดสินใจเรียนปริญญาเอกก็เพราะ โดยส่วนตัวคิดว่างานด้านสายอาจารย์มีความจำเป็นที่ต้องเพิ่มพูนความรู้อยู่ตลอด

โดยเฉพาะความรู้และทักษะด้านวิจัย และมีเพื่อนแนะนำว่ามีโปรแกรมปริญญาเอกด้านนิเทศศาสตร์ เป็นหลักสูตรภาษาอังกฤษเปิดสอนอยู่ที่นิด้า ซึ่งตรงกับสิ่งที่เราต้องการเรียนพอดีค่ะ

IMG_0017.JPG

ขอแสดงความยินดีกับความสำเร็จค่ะ ประสบการณ์ช่วงโค้งสุดท้าย ก่อนจบการศึกษา เป็นอย่างไรบ้างคะ

ขอบคุณค่ะ ก็ถือว่าหนักหนาเอาการค่ะ ช่วงใกล้จบ คือ ช่วงที่หนักที่สุดของการเรียนปริญญาเอกค่ะ เพราะมีหลายขั้นตอนที่ต้องทำ เช่น  ต้องสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ ทำบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ และจะมีรายละเอียดปลีกย่อย เช่น ต้องแก้รูปแบบวิทยานิพนธ์ เป็นต้น แต่ก็ผ่านพ้นมาได้ด้วยดีค่ะ

ตอนที่เรียนปริญญาเอก มีการแบ่งเวลาในชีวิตยังไงบ้างคะ 

ส่วนตัวใช้วิธีแบ่งเวลาคือ work-life balance จะมีหนึ่งวันในหนึ่งอาทิตย์ที่จะทำงานที่เกี่ยวกับวิทยานิพนธ์เลยค่ะ ต้องฝึกบังคับใจและตัวเองให้ทำให้ได้ 

เพราะการเรียนปริญญาเอกไม่มีกรอบชัดเจนในเรื่องของเวลาหรือสถานที่ที่จะทำค่ะ แต่ด้านอื่นๆ เช่นงานสอน ก็จะพยายามทำให้ดีควบคู่ไป รวมทั้งด้านครอบครัวก็เช่นกันค่ะ

IMG_0448-1.JPG

ช่วยนิยามคำว่า Super Busy ในแบบของนักศึกษาปริญญาเอกหน่อยค่ะ

ส่วนตัวคิดว่า ในช่วงการทำงานวิจัยปริญญาเอกนั้นจะเป็นช่วง super busy ตลอดค่ะ เพราะในแต่ละขั้นของการทำวิจัยก็จะมีปัญหาและมีคำถามเกิดขึ้นเรื่อยๆ เลยค่ะ เราเหมือนทำหน้าที่คล้ายๆนักสืบคอยหาข้อมูลและปะติดปะต่อเรื่องราวไปเรื่อยๆ เพื่อจะหาคำตอบของคำถามที่เกิดขึ้นค่ะ และโชคดีที่มีอาจารย์ที่ปรึกษาหลายท่าน คอยให้คำแนะนำและชี้แนะแนวทางค่ะ

IMG_1452.JPG

คิดว่าสิ่งที่ยากในการเรียนปริญญาเอกคืออะไรคะ

สิ่งที่ยากในการเรียนปริญญาเอกคือ การเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นหลัก และการเอาชนะจิตใจตัวเองค่ะ ในแง่ของการมุ่งมั่นและอดทนที่จะทำและเขียนงานวิจัยจนสำเร็จค่ะ

 ทำอย่างไรจึงผ่านพ้นอุปสรรคต่างๆ จนเรียนสำเร็จได้คะ มีคำแนะนำอะไรไหม

“Life is a journey, not a destination.” (Ralph Waldo Emerson)

สิ่งที่จะช่วยให้ผ่านพ้นไปได้น่าจะเป็นทัศนคติที่ดีและเป็นบวก ต้องมีความเชื่อในตัวเองว่าเราต้องทำได้และจะผ่านไปได้ค่ะ 

ตอนที่เรียนจะไม่ได้มองว่าเรียนเมื่อไหร่จะจบ แต่จะเปลี่ยนวิธีคิดเป็นว่าระหว่างทางเราได้เรียนรู้อะไรมากมาย ก็มีบ้างที่บางครั้งจะท้อเพราะเจอความผิดพลาด แต่ก็ต้องเรียนรู้ที่จะยอมรับและแก้ไข แล้วก็จะผ่านไปได้ค่ะ

IMG_0025.JPG

จบปริญญาเอกแล้ว คิดจะทำอะไรเป็นอย่างแรกคะ

ก่อนจบคิดว่า อยากไปเที่ยวพักผ่อนยาวๆโดยที่ไม่ต้องคิดถึงเรื่องงานวิจัยอีกแล้ว พอจบจริงๆ อย่างแรกคือรู้สึกดีใจโล่งใจ พอเห็นเล่มวิทยานิพนธ์ก็หายเหนื่อยค่ะ แต่ก็ยังไม่ได้มีโอกาสไปเที่ยวยาวๆ เลยค่ะ

การเรียนปริญญาเอกเป็นประโยชน์กับงานที่ทำอย่างไรบ้างคะ

ในสายงานอาจารย์ก็เป็นประโยชน์โดยตรงเลยค่ะ ทั้งในด้านการสอนหนังสือ การให้คำแนะนำนักศึกษาเกี่ยวกับการทำวิจัย และการทำวิจัยส่วนตัวในอนาคตด้วยค่ะ

ส่วนผลพลอยได้ของการเรียนปริญญาเอกคือ ทำให้มีวิธีคิดที่ละเอียดรอบคอบ มีการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบมากขึ้น ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และการทำงานทั่วไปได้ด้วยเช่นกันค่ะ

 มีถ้อยคำอะไรอยากฝากถึงคนที่กำลังเรียนปริญญาเอกอยู่บ้างคะ

คิดว่าทุกคนทำได้ค่ะ ท้อได้แต่ถอยไม่ได้ค่ะ ความเพียรพยายามจะทำให้เราถึงจุดหมายค่ะ เป็นกำลังใจให้ทุกคนค่ะ

IMG_1615.JPG

เพจก็แค่ปริญญาเอก ขอขอบคุณ ดร.อาร์ค ปาริชาติ วงศ์วีระนนท์ชัย ที่สละเวลามาพูดคุยและส่งกำลังใจดีๆ ให้กับผู้เรียน ที่กำลังเดินอยู่บนเส้นทางอันยาวไกลของการเรียนปริญญาเอก เราเชื่อว่า ความสำเร็จของผู้ที่ผ่านเส้นทางนี้ไปได้แล้ว จะเป็นแรงบันดาลใจที่ดียิ่งสำหรับผู้เรียน

เพจก็แค่ปริญญาเอก ยินดีเปิดพื้นที่สำหรับการแบ่งปันประสบการณ์การเรียนปริญญาเอก เชิญชวน inbox มาหาเรา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ให้กับเพื่อนๆคนอื่นกันค่ะ

แขกรับเชิญคนต่อไปจะเป็นใคร ติดตามได้ที่นี่ ที่เดียว!!

 

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s