การลดจำนวนคำในวิทยานิพนธ์ 

วันนี้ขอแชร์ประสบการณ์เรื่องของการลดจำนวนคำในวิทยานิพนธ์ค่ะ

ด้วยการเขียนวิทยานิพนธ์สายสังคมศาสตร์ในประเทศอังกฤษมีการกำหนดจำนวนคำไว้ที่ประมาณ 80,000 คำ
ตลอดระยะเวลาของการเขียนงานในช่วง 2-3 ปีนั้น สิ่งที่ผู้เขียนมักจะทำคือกดไปที่โปรแกรม word count เพื่อนับจำนวนคำที่เขียนได้ในแต่ละวัน

ทุกครั้งที่เห็นจำนวนคำที่เพิ่มขึ้นก็จะภูมิใจเล็กๆ กับตัวเองว่า ที่นั่งหลังขดหลังแข็งในวันนี้เขียนไปได้กี่คำแล้ว
บางวันได้ 2,000 คำ หรือบางวันได้ 5,000 คำ
เขียน นับ เขียน นับ ไปเรื่อยๆ เช่นนั้นในทุกวัน
ถึงแม้จะรู้อยู่ว่าปริมาณเป็นคนละเรื่องกับคุณภาพ
แต่การเห็นผลลัพธ์เป็นจำนวนคำที่เพิ่มขึ้นก็เป็นกำลังใจที่ดีในทุกวัน
จนถึงช่วงท้ายของการเขียน เมื่อนำเนื้อหาทุกส่วนมารวมเป็นวิทยานิพนธ์ทั้งเล่ม ปรากฎว่าจำนวนคำทั้งหมด มีกว่า 140,000 คำ !!!
เกินกว่าที่มหาวิทยาลัยกำหนดไปมาก เรียกว่าเกือบจะเป็นวิทยานิพนธ์ได้ 2 เล่ม

ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนจึงต้องเข้าสู่อีกกระบวนการหนึ่งที่ยากไม่แพ้การสร้างคำให้ปรากฎ นั่นก็คือการลดจำนวนคำ
คำและประโยคที่ถูกสร้างขึ้นด้วยน้ำพักน้ำแรงตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาต้องถูกตัดออกเป็นจำนวนมาก

ในขั้นตอนนี้ การทำใจให้ยอมรับและพิจารณาว่าคำใดที่ไม่ใช่ หรือประโยคใดควรตัดออกเป็นเรื่องยาก
หลักเกณฑ์ที่ใช้ คือ ไม่เสียดาย !!
กล้าหาญที่จะตัดทอนคำหรือประโยคที่ไม่ใช่ออก

ให้มองว่าการตัด ละ ทิ้ง บางคำ บางประโยคออกไปนั้น ไม่ใช่การ “เสีย” แต่เป็นการ “ได้”
เช่น ทักษะในการไตร่ตรองที่ดี และ ทักษะในการตัดสินใจอย่างเหมาะสม ฯลฯ

และเมื่อสามารถลดคำลงมาได้ตามข้อกำหนด ก็ทำให้เห็นว่างานกระชับ เรียบง่าย ได้ใจความกว่าเดิมเยอะ

เรียนรู้เลยว่าการแก้ไขและปรับปรุงวิทยานิพนธ์ให้กระชับ เรียบง่าย ได้ใจความ นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย หากแต่เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมาก

การขัดเกลาผลงานควรเป็นกระบวนการต่อเนื่องตลอดระยะเวลาการทำวิทยานิพนธ์
อย่าหยุดเจียระไนงานชิ้นเอก…และพยายามไปให้ถึงซึ่งแก่นความรู้ที่แท้จริง
และในขั้นตอนของการขัดเกลานี้ หากจำเป็นต้องปล่อยวางบางคำ บางประโยค หรือ แม้แต่ปล่อยวางตัวตนของเราเอง ก็จักต้องทำเพื่อผลงานที่ดีที่สุด

ในระหว่างการลดจำนวนคำในวิทยานิพนธ์…

สิ่งที่ผู้เขียนยังคงทำอยู่คือกดไปที่โปรแกรม word count เพื่อนับจำนวนคำที่ลดลงในแต่ละวัน เพราะการเห็นผลลัพธ์เป็นจำนวนคำที่ลดลง คือ กำลังใจที่ดีในทุกวัน

ไปต่อไป ชีวิตปริญญาเอก…

#justaphd

Credit photo: http://tapastic.com/episode/12949

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s