การสอบของนักศึกษาปริญญาเอกในประเทศอังกฤษ‬

ตลอดระยะเวลาการศึกษา นักศึกษาจะมีการสอบรวมทั้งหมด 2 ครั้ง:

ครั้งแรก เป็นการสอบเพื่อเลื่อนขั้นเป็นนักศึกษาปริญญาเอก (upgrading to doctoral student status) เนื่องจากเมื่อแรกสมัครเข้าเรียน นักศึกษาทุกคนจะได้รับสถานะเป็นนักศึกษาระดับปริญญาโทเท่านั้น การสอบเลื่อนขั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่ออาจารย์ที่ปรึกษาเห็นพ้องต้องกันว่านักศึกษาได้เขียนข้อเสนองานวิจัยเป็นเค้าโครงที่น่าพอใจ เมื่อนั้นอาจารย์ที่ปรึกษาจะอนุญาตให้นักศึกษาสอบเลื่อนขั้นเป็นนักศึกษาปริญญาเอก

โดยการสอบจะมีอาจารย์ภายในคณะ/มหาวิทยาลัย ที่ไม่ใช่อาจารย์ที่ปรึกษา จำนวน 2 ท่านมาดำเนินการสอบ โดยส่วนใหญ่นักศึกษาควรสอบเลื่อนขั้นให้ผ่านภายในปีแรกของการศึกษา

การสอบครั้งที่สอง เรียกว่าการสอบ Viva Voce เกิดขึ้นหลังจากการเขียนเล่มเสร็จสมบูรณ์ การสอบครั้งนี้มีความสำคัญมาก เพราะเปรียบเสมือนการชี้เป็นชี้ตายแก่นักศึกษา

กรรมการภายนอกมหาวิทยาลัยและภายในมหาวิทยาลัย รวม 2 ท่าน จะเป็นผู้ตัดสินงานของนักศึกษาว่ามีคุณภาพเพียงพอที่จะเป็นผลงานระดับปริญญาเอกหรือไม่

ตัวอย่างผลการตัดสินของกรรมการผู้สอบ อาจแบ่งเป็น หลายระดับ ดังนี้

ระดับที่หนึ่ง: สอบผ่านและอนุมัติให้ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิต โดยไม่มีข้อแก้ไข

ระดับที่สอง: สอบผ่านโดยมีเงื่อนไขที่จะต้องแก้ไขข้อบกพร่องเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และอนุญาตให้ใช้เวลาทำให้เสร็จภายในระยะเวลาประมาณ 1 เดือน (น้อยหรือมากกว่าเล็กน้อย ขึ้นอยู่กับที่กรรมการสอบกำหนด)

ระดับที่สาม: สอบผ่านโดยมีเงื่อนไขที่จะต้องแก้ไขข้อบกพร่อง ซึ่งเป็นข้อบกพร่องจำนวนมาก ดังนั้นต้องส่งงานอีกครั้งหนึ่ง (resubmit) ในกรณีนี้อนุญาตให้ใช้เวลาทำให้เสร็จภายใน 2 ปี แต่นักศึกษาไม่จำเป็นต้องสอบปากเปล่าอีกครั้ง

ระดับที่สี่: ดุษฎีนิพนธ์ผ่านแต่สอบตกการสอบปากเปล่า โดยให้เวลากลับมาสอบใหม่ภายในระยะเวลา 6 เดือนถึง 1 ปี (ถึงแม้จะไม่ค่อยมีให้เห็น แต่ก็มีอยู่เพื่อที่จะให้ผู้เรียนตระหนักว่า การ well-performed ในวันสอบก็มีความสำคัญ)

ระดับที่ห้า: สอบไม่ผ่านโดยเห็นว่าผลงานไม่มีคุณค่าเทียบเท่ามาตรฐานดุษฎีนิพนธ์และไม่มีทางใดจะแก้ไขได้ จึงตัดสินให้ผลงานมีคุณค่าเพียงพอแค่ใบปริญญาในระดับ M.Phil. แทน

ระดับที่หก: สอบตกโดยไม่อนุญาตให้สอบใหม่ หรือไม่สามารถให้ปริญญาระดับที่ต่ำกว่าใดๆได้
…………………
ท้ายที่สุด สำหรับคนที่กำลังเรียนอยู่ ถ้าประเมินตัวเองว่า เราได้ทำเต็มที่แล้ว และประเมินงานว่า เป็นงานที่ดีงานหนึ่ง มีคุณภาพเพียงพอ ก็ไม่มีอะไรที่จะต้องกลัวหรือกังวลไปมากนัก เพราะผลที่ดีก็เกิดจากเหตุที่ดี ขอเป็นกำลังใจให้ผู้เรียนฝ่าฟันทุกอุปสรรคไปให้ถึงเส้นชัย

Credit: Phillips, Estelle, Pugh, Derek.S. (2005) How To Get A Phd: a handbook for students and their supervisors

exam11

‪#‎เพจก็แค่ปริญญาเอก‬ ‪#‎JustaPhD‬

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s