‪‎PhD‬ ‪‎SurvivalTips‬ ‪#‎No7‬ ‪#‎Supervisor‬ ‪#‎Adviser‬ ‪#‎GoodRelationship‬

we…ไม่ยุ่งเกินไป

…มีเวลาให้

…สุขภาพแข็งแรง

…มีประสบการณ์

…เก่ง รู้จริง มีความสามารถ

…อบอุ่น ให้กำลังใจยามท้อแท้

…เข้ากันได้ เคมีตรงกัน มีเป้าหมายร่วมกัน ฯลฯ

เปล่าค่ะ เราไม่ได้พูดถึงการเลือกคู่ แต่กำลังพูดถึงการเลือกอาจารย์ที่ปรึกษา

ดูจะมีเงื่อนไขมากมายเหลือเกินในการเลือกใครสักคนมาดูแลและให้คำปรึกษาระหว่างการเรียนปริญญาเอก

เพราะระยะทางที่แสนยาวไกล บวกกับเวลา 3-4 ปีข้างหน้า การมีใครสักคนที่ “ใช่” อยู่ข้างกาย น่าจะทำให้ผู้เรียนมั่นใจได้แน่ว่าจะไม่หลงทาง

ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้เรียน มีความสำคัญมากกับการเรียนปริญญาเอก

ในระดับปริญญาตรี ผู้เรียนอาจจะไม่เคยต้องพบ หรือ พูดคุยกับอาจารย์ที่ปรึกษา เลยก็ได้

ในระดับปริญญาโท ความสัมพันธ์กับอาจารย์ที่ปรึกษาก็เกิดขึ้นในระยะเวลาสั้นๆ

ในระดับปริญญาเอก ผู้เรียนกับอาจารย์ที่ปรึกษาจะมีความสัมพันธ์ที่สนิท แน่นแฟ้น มากกว่าระดับใดๆที่ผ่านมา เปรียบเสมือน “มินิเว็ดดิ้ง” เลยก็ว่าได้

ถึงแม้เงื่อนไขจะดูมากมาย ว่า อาจารย์ที่ปรึกษา ต้องเป็นอย่างนั้น ต้องเป็นอย่างนี้ เอาเข้าจริง ผู้เรียนก็อาจจะเลือกไม่ได้เลย และเป็นเรื่องของพรหมลิขิตบันดาลชักพาทั้งหมด

ในทางหนึ่ง หากผู้เรียนหมายปองใคร อาจเข้าไปทาบทาม สู่ขอ กันโดยตรง และขอให้อาจารย์พิจารณาตอบตกลง

บางทีก็ใช้วิธีอินเทอร์เน็ตสื่อรัก โดยเสิร์ชหาข้อมูลคนที่ใช่ ส่งอีเมล์ไปคุย ถ้าผู้เรียนมีเสน่ห์พอ แถมยังสนใจในเรื่องเดียวกันกับอาจารย์คนนั้น และถ้าเขายังว่าง เขาก็น่าจะเซย์เยส

หรือบางครั้ง มหาวิทยาลัยอาจเข้ามามีบทบาทในการคัดสรรอาจารย์ที่เหมาะสมและจัดตั้งเป็นทีมที่ปรึกษาให้ เพื่อที่จะได้มีการตรวจสอบถ่วงดุลย์ ช่วยเหลือกัน และผู้เรียนก็จะมีโอกาสเรียนรู้ความเชี่ยวชาญของอาจารย์แต่ละคนได้อย่างเหมาะสม

ผู้เรียน ต้องใส่ใจ ละเอียด ปราณีต และให้ความสำคัญ กับความสัมพันธ์ครั้งนี้กว่าครั้งไหนๆที่ผ่านมา

หมั่นคอยดูแล และรักษาความสัมพันธ์นี้ อย่างสม่ำเสมอ และให้เป็นไปอย่างราบรื่นตลอดรอดฝั่ง

อย่าคาดหวังที่จะพบ อาจารย์ที่ปรึกษาที่ “ใช่”

ต้องรู้จักประเมินตัวเองด้วย ว่า คุณเป็นคนที่ “ใช่” สำหรับอาจารย์ที่ปรึกษาของคุณ หรือไม่

ในทุกความสัมพันธ์ อย่าคาดหวังความสมบูรณ์แบบ

ทั้งสองฝ่ายต้องเรียนรู้ ปรับตัว จนกว่าจะเป็น คู่ที่ “ใช่” ของกันและกัน

ในฐานะผู้เรียน จงยอมรับและเข้าใจอาจารย์ที่ปรึกษาอย่างที่เขาและเธอเป็น

เรียนรู้จุดแข็ง ข้อดีของอาจารย์ แล้วนำมาปรับใช้เป็นต้นแบบ

ความเคารพและศรัทธาต่ออาจารย์ เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะส่งผลสู่ความสำเร็จ

การพร่ำบ่น ว่า อาจารย์ที่ปรึกษา ไม่ดีพอ ไม่ช่วยเหลือ ไม่ได้ช่วยให้สถานการณ์ของคุณดีขึ้น

จำให้ได้ว่า งานชิ้นนี้เป็นงานของคุณ ที่คุณมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบในทุกวิถีทาง

ทุกอุปสรรค ความท้าทาย คือ บทเรียน และ ทุกบทเรียน คือ การฝึกฝนให้ผู้เรียนเติบโตเป็นนักวิจัยมืออาชีพ เป็นอิสระ พึ่งพาตนเองได้ และในที่สุดสามารถประเมินและให้คำปรึกษาผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม

ตลอดเส้นทาง จงเรียนรู้ที่จะหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ อันได้แก่

…นัดทีไร มาสายเสมอ!!

…ละเลย แกล้งลืม กับคำแนะนำที่ฟังแล้ว งงๆ เบลอๆ ไม่เข้าใจ ขี้เกียจแก้ไข หรือ ไม่เห็นด้วย

…ต่อหน้า นิ่ง ไม่ถาม พยักหน้า เข้าใจ ใช่ครับ/ค่ะ

…ลับหลัง พร่ำบ่น ฟูมฟาย นินทา ว่าร้าย

…หายหน้าหายตาไปเป็นปี กลับมาอีกที เมื่อใกล้หมดเวลา

…เรียกร้องให้อีกฝ่ายคิด อ่าน และ ทำทุกอย่างให้ในนาทีสุดท้าย !!

…คาดหวังให้อีกฝ่ายทำทุกอย่างแบบด่วน เร็ว ฉับไว ทันใจ ทันเวลา !!

…กล่าวโทษอาจารย์ที่ปรึกษา เมื่อภารกิจล้มเหลว!!

เพราะการเรียนปริญญาเอก ไม่ใช่แค่ การทดสอบความฉลาดทางสติปัญญา

แต่เป็นการพิสูจน์วุฒิภาวะทางอารมณ์ คุณธรรม จริยธรรม และทักษะทางสังคม ด้วย

ฝึกฝน ขัดเกลา และ หลอมรวมทุกความพร้อมไว้ในตัวคุณ

เพื่อออกไปเป็น ดร. ที่สง่างาม ครบ สมบูรณ์ในตัวเอง

ขออวยพรให้มี Happy Wedding ที่ Happy Ending นะคะ

‪#‎เพจก็แค่ปริญญาเอก‬ ‪#‎JustaPhD‬
Credit photo: www.weddingchicks.com

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s